การชาร์จรถไฟฟ้าแบบ AC กับ DC ต่างกันอย่างไร?

ปัจจุบันนี้ในรถยนต์ไฟฟ้า มักจะมีระบบการชาร์จมาให้ 2 แบบด้วยกัน ได้แก่การชาร์จแบบ AC และการชาร์จแบบ DC Fast charge ส่วนในรถยนต์ PHEV   ส่วนใหญ่ มักจะให้มาเฉพาะการชาร์จแบบ AC แต่การชาร์จ 2 แบบนี้ ต่างกันอย่างไร? วันนี้ มาหาคำตอบกันค่ะ

AC/DC ย่อมาจากอะไร

ชาร์จ AC/DC ย่อมาจาก

AC = Alternating Current = ไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นระบบไฟฟ้าแรงดัน 220 โวลต์ ที่ใช้กันในบ้านเรือนทั่วไป
DC = Direct Current = ไฟฟ้ากระแสตรง เป็นระบบไฟฟ้าที่ใช้กับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

การชาร์จรถไฟฟ้าด้วย AC คืออะไร

การชาร์จรถไฟฟ้าด้วย AC คือ การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน ผ่าน Wallbox นับเป็นวิธีการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่มีต้นทุนถูกที่สุด ณ ปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะบ้านที่ติดตั้งมิเตอร์แบบ TOU การชาร์จ AC ระบบจะทำการรับไฟฟ้าจาก Wallbox ผ่านเข้าสู่ On-Board AC-charger ในตัวรถ เพื่อแปลงเป็นระบบไฟฟ้าแบบ DC ส่งเข้าสู่แบตเตอรี่

การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ AC มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร?

ข้อดีของการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าด้วยระบบไฟแบบ AC คือ
1.ติดตั้งได้ที่บ้าน โดยรองรับการชาร์จได้สูงสุด 22 kW ขึ้นอยู่กับระบบไฟฟ้าที่บ้านของท่าน, ตู้ชาร์จ และรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นที่ท่านใช้ว่ารองรับได้เท่าใ
2.ชาร์จได้กับรถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่น รวมไปถึงรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดด้วย
3.ค่าไฟฟ้าถูกที่สุด
4.สามารถชาร์จข้ามคืนได้แบบไร้กังวลเรื่องแบตเตอร์รี่เสื่อม เพราะการชาร์จ AC ไม่ทำให้แบตเตอร์รี่ร้อนมาก
5.ใช้งานง่าย แค่เสียบปลั๊ก และสั่งชาร์จได้เลย ไม่ต้องรอเชื่อมต่อระบบแบบตู้ชาร์จสาธารณะ

ข้อเสียของการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าด้วยระบบไฟแบบ AC คือ

1. ใช้ระยะเวลาการชาร์จที่ค่อนข้างนาน ไม่เหมาะสำหรับคนที่เร่งรีบหรือขี้ลืม อารมณ์ว่าลืมชาร์จแบตมือถือก่อนนอนเลยล่ะ
2. ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน กำลังการชาร์จสูงสุดยังอยู่เพียง 3 – 22 kW เท่านั้น
3. ไม่เหมาะกับคนที่ไม่ได้อยู่บ้านส่วนตัว ที่ไม่สามารถติดตั้งตู้ชาร์จส่วนตัวได้

การชาร์จรถไฟฟ้าด้วย DC คืออะไร

การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าด้วย DC คือ การชาร์จที่สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า นับเป็นวิธีการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่เร็วที่สุด เพราะเป็นการชาร์จไฟฟ้าจากหัวจ่ายเข้าสู่แบตเตอร์รี่โดยตรง ไม่ต้องผ่าน On-Board AC-charger ในตัวรถ เหมือนกับการชาร์จด้วยระบบ AC

การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ DC มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร?

ข้อดีของการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าด้วยระบบไฟแบบ DC คือ

1. ชาร์จไฟฟ้าได้เร็วที่สุด โดยรถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่นในไทย ด้วยตู้ชาร์จแบบ DC ในไทย สามารถชาร์จแบตเตอร์รี่จาก 10-80% ได้ภายในระยะเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้นแทบทุกรุ่น
2. เหมาะสำหรับการเดินทางไกล ที่ต้องทำเวลาในการเดินทางให้สั้นลง
3. เป็นโอกาสได้พักผ่อนที่ดีสำหรับนักเดินทาง และได้เติมพลังงานไปในตัวด้วย เพียงคุณแวะเข้าห้องน้ำ ทำธุระนิดหน่อยสัก 15 นาที ก็ได้ไฟฟ้าเพิ่มเข้ามาเพียงพอสำหรับระยะทางขับขี่หลักร้อยกิโลเมตรได้แบบสบายๆ

ข้อเสียของการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าด้วยระบบไฟแบบ DC คือ

1. มีราคาสูง โดยในประเทศไทยมีราคาสูงสุดถึงหน่วยละ 7.7 บาทเลยทีเดียว
2. สถานีชาร์จยังไม่คลอบคลุมมากนัก ณ ปัจจุบันนี้ ยังจำเป็นต้องวางแผนการแวะจุดชาร์จอยู่
3. มีความซับซ้อน (อาจจะเป็นแค่ในไทย) เพราะตู้ชาร์จ DC มีหลายผู้ให้บริการมากๆ และแต่ละผู้ให้บริการก็มีเงื่อนไขการใช้งานที่ต่างกันออกไป ใช้แอพลิเคชั่นการชาร์จคนละแอพฯ กัน แถมวิธีชำระเงินก็ต่างกันเกือบทั้งหมด ผู้ใช้ใหม่อาจจะต้องทำการศึกษาและเรียนรู้สักระยะ